วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ

หน่วยความจำสำรอง สามารถแบ่งตามลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ชนิด คือ

       2.1 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง เป็นหน่วยความจำสำรองที่
คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นตรงส่วนใดก็ได้ในทันที
 ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อ
มูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรง หรือการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access หรือ random access)
 อุปกรณ์ชนิดที่สามารถเลื่อนหัวอ่านหรือบันทึกข้อมูลหน่วยความจำประเภทดิสก์ต่าง ๆ ดิสก์ที่นิยม
ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภทได้แก่
- จานบันทึกแม่เหล็ก (magnetic disk) แม่เหล็กที่นิยมใช้กันได้แก่ ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk)
 ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) และไมโครดิสก์ (microdisk)
- ออพติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความจุมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ซีดี-รอม
 (Compact Disk Read Only Memory, CDROM) วอร์ม (Write Once Read Many, WORM) 
และแมคนิโต ออปติคัลดิสก์ (Magneto-optical disk, MO)
- พีซีเอ็มซีไอเอ (Personal Computer Memory Card International Association, PCMCIA)


       2.2 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยเรียงลำดับเท่านั้น เป็นหน่วยความ
จำสำรองประเภทที่เก็บตัวข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไป ตั้งแต่ตำแหน่งแรกจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เมื่อ
ต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนใดนั้น หัวอ่านและบันทึกจะต้องทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลตั้งแต่ตำ
แหน่งแรก เรียงลำดับกันไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึง
แบบเรียงลำดับ (seguential access) หน่วยความจำสำรองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้งานสำรองข้อ
มูลของระบบ อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เทปแม่เหล็ก


แหล่งที่มา http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/12.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น