วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Infographic ไมโครโปรเซสเซอร์ (งานกลุ่ม)


http://203.146.15.109/lms/content/multimedia/multi_lesson/lesson/02/micro3.html

ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ

หน่วยความจำสำรอง สามารถแบ่งตามลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ชนิด คือ

       2.1 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง เป็นหน่วยความจำสำรองที่
คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นตรงส่วนใดก็ได้ในทันที
 ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรงส่วนใดก็ได้ในทันที ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อ
มูลดังกล่าวว่าการเข้าถึงโดยตรง หรือการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access หรือ random access)
 อุปกรณ์ชนิดที่สามารถเลื่อนหัวอ่านหรือบันทึกข้อมูลหน่วยความจำประเภทดิสก์ต่าง ๆ ดิสก์ที่นิยม
ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภทได้แก่
- จานบันทึกแม่เหล็ก (magnetic disk) แม่เหล็กที่นิยมใช้กันได้แก่ ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk)
 ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) และไมโครดิสก์ (microdisk)
- ออพติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาให้มีความจุมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ซีดี-รอม
 (Compact Disk Read Only Memory, CDROM) วอร์ม (Write Once Read Many, WORM) 
และแมคนิโต ออปติคัลดิสก์ (Magneto-optical disk, MO)
- พีซีเอ็มซีไอเอ (Personal Computer Memory Card International Association, PCMCIA)


       2.2 หน่วยความจำสำรองประเภทที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยเรียงลำดับเท่านั้น เป็นหน่วยความ
จำสำรองประเภทที่เก็บตัวข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไป ตั้งแต่ตำแหน่งแรกจนถึงตำแหน่งสุดท้าย เมื่อ
ต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนใดนั้น หัวอ่านและบันทึกจะต้องทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลตั้งแต่ตำ
แหน่งแรก เรียงลำดับกันไปจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ซึ่งเรียกการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวว่าการเข้าถึง
แบบเรียงลำดับ (seguential access) หน่วยความจำสำรองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้งานสำรองข้อ
มูลของระบบ อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ เทปแม่เหล็ก


แหล่งที่มา http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/103_116/12.html

หน่วยความาจำสำรอง


          หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ และสามารถ
นำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) ประกอบด้วย
          1.  แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่นบันทึกอย่าง
น้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน
        
          2.  ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อน
กันหัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออก
เพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์  (cylinder)  แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ
        
          3.  เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว  ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติกเคลือบด้วยสารแม่เหล็กเหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก  มีการจัดเก็บและเรียก
ค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access) 
          4.  แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง  แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่าซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์
ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น
 แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น
จนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk)


Port HDMI

สาย     HDMI

           HDMI เป็นระบบการเชื่อมต่อภาพและเสียงแบบใหม่คะ ย่อมาจากคำว่า
 (H)igh (D)efinition (M)ultimedia (I)nterface โดย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญ
ญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลแบบไม่มีการบีบอัดข้อมูลไว้ในสายสัญญาณ
เพียงเส้นเดียว ให้ความคมชัดของภาพ มีความละเอียด มีความคมลึกและให้เสียง
ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ขั้วต่อของ HDMI to HDMI จะผลิตจากทองแท้
 24 K  ด้วยนะคะ  ทุกวันนี้ HDMI ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ Home Theatre หลาย
อย่างเช่น พลาสม่าทีวี  แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ


แหล่งที่มาhttp://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=181205078610507&id=128090221909

Serial Port

Serial Port
         
      Serial Port คือ พอร์ตอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลนั้นพอร์ตอนุกรมจะมีความเร็วในการสื่อสารที่ช้ากว่าแบบ ขนาน เพราะการเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบอนุกรมนั้นเป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต แต่พอร์ตขนานนั้นสามารถส่งข้อมูลทีละหลายๆ บิทพร้อมๆกันได้ แต่ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมคือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าแบบขนาน และใช้สายสัญญาณที่น้อยกว่าการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
     ประเภทของการสื่อสารแบบอนุกรมแบ่งตามลักษณะสัญญาณในการส่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ
 1.การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous)
 2.การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous)

แหล่งที่มาhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/378488

Port Fire Wire



FireWire เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า i-Link เป็นมาตราฐานการเชื่อมต่อที่แพร่หลายในคอมพิวเตอร์พีชี
 และแม็คอินทอช บางครั้งอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า IEEE1394 (เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท Apple)
 จุดเด่นของ FireWire เห็นจะเป็นเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ซึ่งจะมีความเร็วสูงถึง 400 เมกะบิตต่อ
วินาที สูงกว่า USB v1.1 แต่ถ้ากว่า USB 2.0 เพียงเล็กน้อย โดยทั่วไปนิยมใช้กับ กล้องดิจิตอล กล้อง DV
 และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น
  • กรณีเครื่องคอมฯ ของคุณไม่มี FireWire Port เราสามารถหาซื้อการ์ด มาเสียบได้


การ์ด FireWire (3 ports) ซึ่งการ์ดหนึ่งอาจมีจำนวน port มากกว่าหนึ่ง port ได้

แหล่งที่มา http://www.music2home.com/article.aspx?id=9

Port Digital Audio



  การติดต่อการแสดงผลแบบดิจิตอลที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมมาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์วิดีโอ (VESA) อินเตอร์เฟซที่ใช้งานเป็นหลักในการเชื่อมต่อแหล่งวิดีโอไปยังอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอคอมพิวเตอร์แม้ว่ามันจะยังสามารถใช้ในการส่งรูปแบบเสียง, USB, และอื่น ๆ ของข้อมูล
ข้อกำหนด VESA เป็นค่าภาคหลวงฟรี . VESA มันออกแบบมาเพื่อแทนที่VGA , DVIและFPD-Link . ความเข้ากันได้ย้อนหลังกับ VGA และ DVI โดยใช้อะแดปเตอร์ที่ใช้งาน dongles ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้แหล่งวิดีโอโดยไม่ต้องติดตั้ง DisplayPort เปลี่ยนอุปกรณ์แสดงผลที่มีอยู่
รุ่นแรก, 1.0 ได้รับการอนุมัติโดย VESA เมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 เวอร์ชั่น 1.1a ได้รับการอนุมัติเมื่อ          2 เมษายน 2007 ตามมาตรฐานปัจจุบัน 1.2 เมื่อ 22 ธันวาคม 2009

แหล่งที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/DisplayPort

Port Digital Video


Video Port



Video Port

          พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)

แหล่งที่มา http://www.zabzaa.com/hardware/video_port.htm

Port Digital Camera

 กล้องดิจิตอลที่สามารถจับภาพและวิดีโอที่มีคุณภาพสูงมากและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดความไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติและปรับองค์ประกอบแสงเพื่อผลิตภาพที่ดีที่สุด รับไฟล์ลงในหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอสำหรับการแก้ไขหรือการจัดนิทรรศการอาศัยกล้องเชื่อมต่อพอร์ตที่ใช้หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งสายมาตรฐานในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่
 


แหล่งที่มา : http://www.ehow.com/list_7298714_types-camera-port-connections.html

Port Keyboardrt


ช่องต่อ PS2 สำหรับเมาส์จะเป็นสีเขียว ส่วนคีย์บอร์ดสีม่วง
พอร์ตอีกชนิดหนึ่งที่มีการทำงานใกล้เคียงกับ PS/2 ก็คือ พอร์ตสื่อสารแบบอนุกรม (serial port) ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เหมือนกัน เช่น โมเด็ม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากพอร์ตอนุกรมจะมีขีดความสามารถในการทำงานที่เหนือกว่า ดังนั้น พอร์ต PS/2 จึงเหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่า และมีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนอย่างเช่น เมาส์ และคีย์บอร์ด เท่านั้น พอร์ต PS/2 ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM และคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีพอร์ต PS/2 ให้ 2 ช่อง เพื่อเชื่อมต่อกับเมาส์ และคีย์บอร์ด นั่นเอง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพอร์ตยอดฮิตที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งรวมถึงเมาส์ และคีย์บอร์ดก็คงจะหนีไม่พ้น USB 
แหล่งที่มา http://www.arip.co.th/news.php?id=405336

Port Mouse



PS/2 Mouse, Port

          เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
 โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยม
หนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย 
การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และ
คีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสาย
คีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส 
ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้
ถูกต้อง

แหล่งที่มา http://www.zabzaa.com/hardware/ps2_port.htm

Port Scanner



  เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์แบบสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ มี่ขนาด 25 พิน (หมายเลข2)
         
 ถึงแม้ว่า Port Scans สามารถเกิดขึ้นกับระบบของคุณ แต่ก็สามารถตรวจจับได้และก็สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมมาจำกัดจำนวนของข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่เปิดได้ ทุกๆระบบที่เปิด สู่สาธารณะจะมีพอร์ตหลายพอร์ตที่เปิดและพร้อมให้ใช้งานได้ โดยมีการจำกัดจำนวนพอร์ตที่จะเปิดให้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตและปฏิเสธการเข้าถึงมายังพอร์ตที่ปิด

เทคนิคต่าง ๆ ของ Port Scan  ก่อนที่คุณจะป้องกัน Port Scans คุณก็จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า Port Scans ทำงานอย่างไร เนื่องจากมีเทคนิคของ Port Scanning อยู่มากมายหลายรูปแบบ ซึ่งมีเครื่องมือ Port Scanning ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น Nmap และ Nessus


แหล่งที่มา : http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=329&Itemid=46

วิวัฒนาการ Port USB

59246



วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)

     พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

พอร์ตอนุกรม (Serial Port)

     เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
• พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร
พอร์ตขนาน (Pararell Port)

     หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
• พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก ราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรม • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
พอร์ตยูเอสบี (USB Port)

     พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
• คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ • เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร • พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว • เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ • การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่
พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)

     ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ดนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพง ไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดยพอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่น ช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊กสีเขียว ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊กแต่ละตัว แต่จะมีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน


      1.พอร์ตอนุกรม(RS-232C) ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1965 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 57 kbps 2.พอร์ตขนาน ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1980 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 1-4 Mbps 3.SCSI ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1985 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 4-80 Mbps 4.Firewire ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1995 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 400 Mbps 5.USB
             1.1 ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 1996 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 12 Mbps 6.USB 2.0 ปีที่เริ่มต้นใช้งาน 2000 ความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ 480 Mbps

แหล่งที่มา  http://www.vcharkarn.com/vblog/33318/4

Port Output















 ขั้นตอนในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น
 3 ขั้นตอน คือการนำข้อมูลเข้า (Input Data) การประมวลผล (Processing) และ การ
นำเสนอข้อมูล(Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เราสามารถ
เรียกกรรมวิธีนี้ว่า “วงจรการประมวลผล” (Data Processing Cycle)  ขั้นนี้จัดเป็นขั้น
ตอนที่ต้องจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมและสะดวก ใน
การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปประมวลผล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถ
ทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ป้อนข้อมูลได้ (Input
 Devices) ซึ่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะนำเข้าผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector)
 ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า Port Port ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญๆ ได้แก่ Serial
 Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละ 1บิต เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ 
ที่ใช้ Serial Port ได้แก่ Mouse Parallel Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้ง
ละหลาย เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Parallel Port ได้แก่ Printer Tape USB
 Port (Universal Serial Bus Port) เป็น Port ชนิดใหม่ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้
ทั้ง Serial และ Parallel Port  

แหล่งที่มา http://www.krunee.com/content215.html

Port Input

การใช้งานพอร์ตเป็นการอินพุตข้อมูลจะต้องเริ่มด้วยการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็น 1 ออกมาทางบิตของพอร์ต นั้นก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อหยุดการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับสัญญาณเอาต์พุตของบิตนั้น ทำให้ขาสัญญาณของบิตถูกต่อเข้ากับตัวต้านทานซึ่งทำหน้าที่ Pull-up ภายในซึ่งมีผลให้บิตนั้นๆของพอร์ต 1,2 และ 3 เป็น สภาวะของลอจิกสูง ตัวต้านทานนี้มีค่าประมาณ 50 K โอห์ม ซึ่งเป็นค่าที่สูงมาก และทำให้อุปกรณ์ภายนอกสามารถขับสัญญาณของพอร์ตเหล่านี้เป็นลอจิกต่ำได้ง่าย สำหรับบิตของพอร์ต 0 นั้น แม้ว่าจะมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกัน กับบิตของพอร์ตอื่นๆ แต่เนื่องจากการที่
ไม่มีตัวต้านทานทำหน้าที่ Pull-up ภายในไว้ ทำให้เมื่อทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ ขับสัญญาณเอาต์พุตนั้นหยุดการทำงาน ก็จะเป็นผลให้ขาสัญญาณนี้อยู่ในสภาวะอิมพีแดนซ์สูงแทน

แหล่งที่มา : http://www.cpe.ku.ac.th/~yuen/204471/micro/mcs51/8051_5.html

Control Port

   Control port หรือ สายสัญญาณควบคุม  แบ่งเป็นได้ทั้ง Input และ Output การใช้งาน Port นี้ต้องมีการกำหนด Address ของ Port ให้ชัดเจนว่าต้องการติดต่อผ่าน Address ไหน ถ้ากำหนดแอดเดรสผิด Program ก็จะไม่ทำงาน
( ที่มาข้อมูล : www.tatc.ac.th/files/09011219194805_1205180990152.pdf‎ )

โครงสร้าง Port

โครงสร้างของพอร์ต

        การที่จะให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่นการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก (INPUT)หรือการส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ภายนอก (OUTPUT) ก็จะต้องติดต่อผ่านพอร์ต (PORT) หรืออาจกล่าวได้ว่าพอร์ตคือช่องทางสำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่งไมโครคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอกนั้นเอง

 แสดงโครงสร้างภายในของพอร์ต

การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตอินพุต (INPUT PORT)
 การกำหนดให้พอร์ตหรือบิตใดๆ ของไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นพอร์ตอินพุต หรือส่วนในการรับค่าของข้อมูลเข้ามาดังแสดงในรูป 5.2 จะเริ่มต้นด้วยการเขียนข้อมูลให้กับพอร์ตหรือบิตนั้นๆ เป็นสถานะลอจิก "1" แล้วจึงส่งไปแต่ละบิตของพอร์ตที่ต้องการใช้งาน เพื่อให้เป็นพอร์ตอินพุต ข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกที่ต่ออยู่ก็จะถูกส่งเข้ามาเก็บไว้ในวงจรบัฟเฟอร์ภายในพอร์ต เพื่อรอให้ซีพียูมาทำการอ่านค่าเข้าไป ดังนั้นอุปกรณ์ภายนอกที่เราจะนำมาเชื่อมต่อกับพอร์ตอินพุต จึงนิยมกำหนดให้ทำงานในสภาวะลอจิก "0"


แสดงการกำหนดเป็นพอร์ตอินพุตโดยให้สถานะเป็น "1" ตำแหน่งบิตที่ต้องการ

1.2 การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ต
        การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ การอ่านค่าจากขาพอร์ตโดยตรง (Read Pin) และ การอ่านค่าจากวงจรแลตซ์ของแต่ละพอร์ต (Read Latch) ในกรณีที่พอร์ตต่อกับขาเบสของทรานซิสเตอร์ * ชนิด NPN ให้เป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์ และที่ขาอิมิตเตอร์ของทรานซิสเตอร์ต่อลงกราวด์ จะได้ผลตรงกันข้ามกับค่าลอจิกที่ส่งออกมา แต่ถ้าหากทำการอ่านค่าลอจิกที่วงจรแลตซ์ (Read Latch) จะได้สถานะลอจิกตรงกับค่าที่ส่งออกพอร์ตจริง ด้วยเหตุผลนี้ในการอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตจึงต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่นำมาต่อด้วย

 แสดงสถานะของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เมื่อนำมาต่อเป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์

การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตเอาต์พุต(OUTPUT PORT)

       การกำหนดให้มีลักษณะเป็นพอร์ตเอาต์พุต เราสามารถจะส่งข้อมูลที่เป็นลอจิกที่ต้องการออกไปได้โดยตรง เช่นถ้าเราต้องการส่งข้อมูลที่เป็นสถานะลอจิก "0" ออกไปทางพอร์ต P1 ทั้ง 8 บิต ก็สามารถที่จะเขียน จะทำให้เอาต์พุตของวงจรแลตซ์เป็นสถานะลอจิก "0" ก็สามารถเขียนข้อมูล "1" ไปยังวงจรแลตซ์ วงจรขับก็จะหยุดการทำงานเป็นผลทำให้ที่ขาของพอร์ตเชื่อมต่อกับวงจรพูลอัปภายในเกิดเป็นสถานะลอจิก "1" ที่ขาพอร์ตนั้น ซึ่งจะคล้ายกับการกำหนดให้เป็นขาอินพุต เพียงแต่แตกต่างกันที่กระบวนการในการเคลื่อนย้ายข้อมูล โดยถ้าเป็นอินพุต จะมีสัญญาณมาอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์ แต่ถ้าเป็นเอาต์พุตจะไม่มีการอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์แต่อย่างใด เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งออกมาทางเอาต์พุตเท่านั้น
แหล่งที่มา http://adisak-diy.com/page28.html

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

(disk drive)

เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive)


                           เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive) เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลบนจานแม่เหล็ก มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเล่นจานเสียงธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่แทนที่จะมีเข็มกลับมีหัวอ่านและหรือหัวบันทึก (read-write head) คล้ายเครื่องแถบแม่เหล็กที่เคลื่อนที่เข้าออกได้ เครื่องจานแม่เหล็ก มีสองแบบ คือ แบบจานติดอยู่กับเครื่อง (fixed disk) และแบบยกจานออกเปลี่ยนได้ (removable disk)
จานแม่เหล็กส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติก มีรูปร่างเป็นจานกลมคล้ายจานเสียงธรรมดา แต่ฉาบผิวทั้งสองข้างด้วยสารแม่เหล็กเฟอรัสออกไซด์ การบันทึกทำบนผิวของสารแม่เหล็กแทนที่จะเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ การอ่านและการบันทึกข้อมูลกระทำโดยใช้หัวอ่านที่ติดตั้งไว้บนแผงที่สามารถเลื่อนเข้าออกได้
                           ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้บนรอยทางวงกลมบนผิวจานซึ่งมีจำนวนต่าง ๆ เช่น 100-500 รอยทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานมีตั้งแต่ 1-3 ฟุต สามารถบันทึกตัวอักษรได้หลายล้านตัวอักษร การบันทึกใช้บันทึกทีละบิตโดยใช้แปดบิตต่อหนึ่งไบต์ จานแม่เหล็กหมุนเร็วประมาณ 1,500-1,800 รอบต่อนาที สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเวลาเฉลี่ยประมาณ 50 มิลลิวินาที สามารถย้ายข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงถึง 320,000 ไบต์ต่อวินาที ขอให้เราสังเกตว่าเวลาเฉลี่ยเหล่านี้เป็นเวลาที่ช้ากว่าเครื่องรุ่นใหม่ ๆ มาก



ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เขาจะใช้จานแม่เหล็กที่มีจำนวน 2 หรือ 6 หรือ 12 จานมาติดตั้งซ้อนกันตามแนวดิ่ง รวมกันเป็นหนึ่งหน่วย เรียกว่า ดิสก์แพ็ค (disk pack) ซึ่งเราสามารถยกดิสก์แพ็คเข้าออกจากเครื่องได้ การทำเช่นนี้ ทำให้จานแม่เหล็กสามารถทำหน้าที่คล้ายแถบแม่เหล็ก

แหล่งที่มา  http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/ddisk.html